เทศบาลเมืองระนอง ได้ยกฐานะเป็นเทศบาลเมือง เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2479 โดย พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองระนอง จังหวัดระนอง พ.ศ. 2479 การยกฐานะนี้โดยอาศัย อํานาจ ตามความในมาตรา 42 วรรค 1 และวรรค 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ.2476 คือ ยกฐานะมาจากสุขาภิบาลระนอง ซึ่งขณะนั้นมีรายได้ประมาณ 30,000 บาทต่อปี เดิมที่ตั้งของสํานักงานเทศบาลได้อาศัยส่วนหนึ่งของศาลากลางจังหวัดระนอง (หลัง เก่า) (พระที่นั่งรัตนรังสรรค์) เป็นที่ตั้งสํานักงาน
ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2482 ได้ย้ายไปตั้งสํานักงานอยู่ใน ที่ดินอันเป็นทรัพย์สินของกองการลูกเสือ ซึ่งเช่าจากแผนกศึกษาธิการจังหวัดระนองโดยเสียค่าเช่า เป็นรายปี
ในปี พ.ศ.2512 เทศบาลได้ก่อสร้างอาคารสํานักงานในที่ดินของเทศบาลเอง คือที่ตั้งอยู่ ในที่ปัจจุบัน ณ ถนนเพิ่มผล เนื้อที่ 32 - 3 - 10 3/10 ไร่ ในวงเงิน 1,200,000 บาท และเปิด ใช้สํานักงานเมื่อปี พ.ศ.2513 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
นอกจากประวัติความเป็นมาของเทศบาล ยังมีประวัติศาสตร์ของจังหวัดระนองที่ เป็นเกียรติประวัติและความภาคภูมิใจของชาวจังหวัดระนอง คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งเสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้และแหลมมลายู ทรงแวะประทับจังหวัด ระนอง ระหว่างวันที่ 23 - 26 เมษายน พ.ศ. 2433 ในครั้งนั้นพระองค์ยังได้พระราชทานนาม พลับพลาที่ประทับ คือ "พระที่นั่งรัตนรังสรรค์" และเนินเขาซึ่งเป็นที่ตั้งของพระที่นั่ง ฯ ชื่อว่า "เขานิเวศน์คีรี" และพระราชทานนามถนน 10 สายที่สําคัญที่ได้ชื่อว่าเป็นถนนประวัติศาสตร์ ได้แก่ ท่า เมือง เรืองราษฎร์ ชาติเฉลิม เพิ่มผล ชลระอุ ลุวัง กําลังทรัพย์ ดับคดี ทวีสินค้า ผาดาด ซึ่งนับเป็น พระมหากรุณาธิคุณต่อชาวจังหวัดระนอง เป็นล้นพ้น เป็นเกียรติประวัติและความภาคภูมิใจของ จังหวัดระนองมิรู้ลืม ถนนประวัติศาสตร์ 10 สาย ดังกล่าว ที่เป็นที่เทิดทูนของชาวจังหวัดระนอง เนื่องจากนับเป็นพระปรีชาสามารถที่พระองค์ได้ทรงตั้งชื่อถนนได้คล้องจองกันถึง 10 สาย และชื่อ ถนนแต่ละสายจะสอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ และสภาพของชุมชน เช่น ถนนเรืองราษฎร์ เป็นถนน ที่ผ่านย่านตลาดและการค้าขาย ถนนดับคดีเป็นถนนที่ผ่านที่ตั้งศาลจังหวัดระนอง เป็นต้น